เมนู

บทว่า สญฺชานนฺโต คือ รู้พร้อมอยู่ว่า เราจะปลงเสียจากชีวิต.
อธิบายว่า รู้อยู่พร้อมกับอาการที่รู้ว่า สัตว์มีปราณนั้นนั่นเอง.
บทว่า เจจฺจ ความว่า จงใจ คือ ปักใจ ด้วยอำนาจเจตนาจะฆ่า.
บทว่า อภิวิตริตฺวา ความว่า ส่งจิตที่หมดความระแวงสงสัยไปย่ำยี
ด้วยอำนาจความพยาบาท.
ด้วยบทว่า วิติกฺกโม มีคำอธิบายที่ท่านกล่าวไว้ว่า ความล่วงละเมิด
แห่งจิตหรือบุคคล ซึ่งเป็นไปแล้วอย่างนั้น นี้เป็นความอธิบายสุดยอดแห่ง
สัญจิจจ ศัพท์.

[อธิบายปฐมจิตของมนุษย์ผู้เริ่มลงสู่ครรภ์]


บัดนี้ ท่านพระอุบาลีเถระ กล่าวคำเป็นต้นว่า ชื่อว่ากายมนุษย์
เพื่อจะแสดงอัตภาพของมนุษย์ ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสไว้ ในคำว่า ปลงกาย
มนุษย์เสียจากความเป็นอยู่ นี้ ตั้งแต่แรก.
บรรดาบทเหล่านั้น หลายบทว่า (ปฐมจิต) อันใด (เกิดขึ้นแล้ว)
ในท้องแห่งมารดา ท่านพระอุบาลีเถระกล่าว เพื่อแสดงอัตภาพอันละเอียดที่สุด
ด้วยอำนาจแห่งเหล่าสัตว์ผู้นอนในครรภ์. ปฏิสนธิจิต ชื่อจิตดวงแรก. บทว่า
ผุดขึ้น ได้แก่เกิด. คำว่า วิญญาณดวงแรก มีปรากฏ นี้ เป็นคำไข ของ
คำว่า จิตดวงแรก ที่ผุดขึ้น นั้นนั่นแหละ. บรรดาคำเหล่านี้ ด้วยคำว่า
จิตดวงแรก (ที่ผุดขึ้น) ในท้องมารดา นั่นแหละ เป็นอันท่านแสดงปฏิสนธิ
ของสัตว์ผู้มีขันธ์ 5 แม้ทั้งสิ้น. เพราะเหตุนั้น กายมนุษย์อันเป็นที่แรกที่สุดนี้
คือ จิตดวงแรกนั้น 1 อรูปขันธ์ 3 ที่เกี่ยวเกาะด้วยจิตนั้น 1 กลลรูปที่เกิด
พร้อมกับจิตนั้น 1. บรรดาอรูปขันธ์ และกลลรูปแห่งจิตดวงแรกนั้น รูป
3 ถ้วน ด้วยอำนาจแห่งกาย 10 วัตถุ 10 และภาวะ 10 แห่งสตรีและบุรุษ,

รูป 20 ด้วยอำนาจแห่งกาย 10 และวัตถุ 10 แห่งพวกกะเทย ชื่อว่ากลลรูป.
บรรดาสตรี บุรุษ และกะเทยนั้น กลลรูปของสตรีและบุรุษ มีขนาดเท่า
หยาดน้ำมันงาที่ช้อนขึ้นด้วยปลายข้างหนึ่ง แห่งขนแกะแรกเกิด เป็นของใส
กระจ่าง จริงอยู่ ในอรรถกถาท่านกล่าวคำนี้ว่า
หยาดน้ำมันงา หรือสัปปิใส ไม่ขุ่น
มัว ฉันใด, รูปมีส่วนเปรียบด้วยสี ฉันนั้น
เรียกว่ากลลรูป.

อัตภาพของสัตว์มีอายุ 120 ปีตามปกติ ที่ถึงความเติบโตโดยลำดับ
ในระหว่างนี้ คือตั้งต้นแต่เป็นวัตถุเล็กนิดอย่างนั้น จนถึงเวลาตาย นี้ ชื่อว่า
กายมนุษย์.
สองบทว่า ปลงเสียจากชีวิต ความว่า พึงพรากเสียจากชีวิต
ด้วยการนาบ และรีด หรือด้วยการวางยา ในกาลที่ยังเป็นกลละก็ดี หรือด้วย
ความพยายามที่เหมาะแก่รูปนั้น ๆ ในกาลถัดจากเป็นกลละนั้นไปก็ดี. ก็ขึ้น
ชื่อว่าปลงเสียจากชีวิต โดยความ ก็คือการเข้าไปตัดอินทรีย์ คือชีวิตเสียนั่น
เอง ; เพราะฉะนั้น ในวาระจำแนกบทแห่งสองบทว่า ปลงเสียจากชีวิต นั้น
ท่าน (พระอุบาลี) จึงกล่าวว่า เข้าไปตัด คือเข้าไปบั่นอินทรีย์ คือชีวิตเสีย
(ไขความว่า) ทำความสืบต่อให้ขาดสาย. เมื่อเข้าไปตัด และเข้าไปบั่นความ
สืบต่อเชื้อสาย แห่งอินทรีย์คือชีวิตเสีย ท่านกล่าวว่า ย่อมเข้าไปตัด เข้าไป
บั่นอินทรีย์ คือชีวิตเสีย ในบทภาชนะนั้น. เนื้อความนี้นั้น ท่านแสดงด้วย
บทว่า ทำความสืบต่อให้ขาดสาย.
บทว่า ให้ขาดสาย คือพรากเสีย. ในบทว่า อินทรีย์ คือชีวิต นั้น
อินทรีย์คือชีวิต มี 2 อย่าง คือ รูปชีวิตินทรีย์ 1 อรูปชีวิตินทรีย์ 1. ใน

2 อย่างนั้น ในอรูปชีวิตินทรีย์ ไม่มีความพยายาม ใคร ๆ ไม่สามารถปลง
อรูปชีวิตินทรีย์นั้นได้. แต่ในรูปชีวิตินทรีย์ มี, บุคคลอาจปลงได้. ก็เมื่อ
ปลงรูปชีวิตินทรีย์นั้น ชื่อว่า ปลงอรูปชีวิตินทรีย์ด้วย. จริงอยู่ อรูปชีวิตินทรีย์
นั้น ย่อมดับพร้อมกับรูปชีวิตินทรีย์นั้นนั่นเอง เพราะมีพฤติการณ์เนื่องด้วย
รูปชีวิตินทรีย์นั้น.
ถามว่า ก็เมื่อปลงชีวิตินทรีย์นั้น ย่อมปลงที่เป็นอดีต หรือเป็นอนาคต
หรือปัจจุบัน
ตอบว่า ไม่ใช่อดีต ไม่ใช่อนาคต. ก็ในชีวิตินทรีย์ 2 ประการนั้น
ประการหนึ่งดับไปแล้ว ประการหนึ่งยังไม่เกิดขึ้น ; เพราะฉะนั้น ชื่อว่าไม่มี
ทั้ง 2 ประการ เพราะเป็นสิ่งที่ไม่มี ความพยายามจึงไม่มี ; เพราะความ
พยายามไม่มี จึงไม่อาจปลงได้ แม้ประการหนึ่ง. จริงอยู่ แม้คำนี้ท่านพระ-
ธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ได้กล่าวไว้ว่า สัตว์เป็นอยู่แล้ว ในขณะจิตที่เป็นอดีต
ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่ ไม่ใช่จักเป็นอยู่, จักเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นอนาคต
ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่กำลังเป็นอยู่, กำลังเป็นอยู่ ในขณะจิตที่เป็นปัจจุบัน
ไม่ใช่เป็นอยู่แล้ว ไม่ใช่จักเป็นอยู่* เพราะฉะนั้น ชีวิตย่อมเป็นอยู่ ในขณะ
จิตใด, ความพยายามเป็นของสมควรในขณะจิตนั้น ; เพราะเหตุนั้น บุคคล
ชื่อว่าย่อมปลงชีวิตินทรีย์ที่เป็นปัจจุบัน.

[ชีวิตินทรีย์ปัจจุบันมี 3 ขณะ]


ก็ขึ้นชื่อว่า ชีวิตินทรีย์ที่เป็นปัจจุบันนี้ มี 3 อย่าง คือขณปัจจุบัน 1
สันตติปัจจุบัน 1 อัทธาปัจจุบัน 1. ใน 3 อย่างนั้น ปัจจุบันที่พร้อมเพรียง
ด้วยความเกิด ความเสื่อมและความสลาย ชื่อขณปัจจุบัน, ใครๆไม่สามารถ
//* ขุ. มหา. 29/48.